วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ระดับของค่านิยม



ค่านิยมโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
1.ค่านิยมระดับบุคคล

หมายถึงค่านิยมที่แต่บะบุคคลเลือกยึดถือปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่ง่าย ๆ หรือพงฤติกรรมที่ซับซ้อน เช่น ค่านิยมวัตถุ ค่านิยมความฟุ่มเฟือย ค่ายิยมอำนาจ ค่านิยมความกตัญญุ ค่านิยมความเสมอภาคเป็นต้น ซึ่งค่านิยมเหมือนเป็นเครื่องกำหนดทิศทางการตัดสินใจของบุคคล และมีผลต่อพฤติกรรม และบุคลิคภาพของบุคคบให้เป็นไปในลักษณะที่ตนนิยมชมชอบ
2.ค่านิยมระดับสังคม

หมายถึงค่านิยมที่บุคคลส่วนใหญ่ในสังคมนิยมชมชอบ และยุดถือปฏิบัติเช่นเดียวกัน โดยยึดถือว่าเป็นค่านิยมที่ดีและเหมาะสม ซึ่งบางครั้งอาจเป็นทั้งค่านิยมที่เหมาะสมและไม่หมาะสมก็ได้ ค่ายิยมของสังคมไทยในปัจจุบันเช่น ค่านิยมเงินทอง ค่านิยมความซื่อสัตย์ ค่านิยมวัตถึ ค่านิยมการศึกษาสูง ค่านิยมประชาธิปไตย ค่านิยมความเป็นไท ค่านิยมการทำบุญ ค่านิยมความเสมอภาคเป็นต้น
ดังนั้นการปลูกฝังค่านิยมแก่บุคคลในสังคมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะสามารถส่งผลกระทบกระเทือนถึงความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม ตลอดจนความมั่นคงของประเทศชาติได้
กล่าวคือสังคมใดมีค่านิยมทางสังคมที่เหมาะสมถูกต้อง เช่น ค่านิยมความซื่อสัตย์ ค่านิยมความเสียสละ ค่านิยมการมีส่วนร่วม ค่านิยมความขยันหมั่นเพียร ค่านิยมการประหยัด ค่านิยมการมีระบเยบวินัย ค่านิยมประชาธิปไตย สังคมนั้นย่อมพัฒนาอย่างรวดเร็ว โครงสนร้างของครอบครัวและ สังคมจะเข้มแข็ง ในทางตรงข้ามถ้าสังคมใดมีค่านิยมไม่เหมาะสมเช่น ค่านิยมความหรูหรา ฟุ่มเฟือย ค่านิยมวัตถุ ค่านิยมเสี่ยงโชค ค่านิยมความขอบสบาย ค่านิยมตัวใครตัวมัน สังคมนั้นย่อมเจริญก้าวหน้าช้า ไม่สามารถถึงตนไองได้ หรืออาจเสื่อมสลายลงได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้แก่ประชาชน ในสังคมตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม โดยเฉพาะนักการเมือง และนักบริหารระดับสูง เพราะบุคคลเหล่านี้จะต้องเป็นผู้ที่กำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

2.ความหมายของค่านิยม

ค่านิยม หมายถึง ความเชื่อ ของบุคคล หรือสังคม ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่ามีคุณค่า มีความสำคัญ และยอมรับมาประพฤติ ปฏิบัติ เพื่อประโยชขน์สุขแห่งตนและส่วนรวม ซึ่งอาจจะมีทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีก็ได้ ดังนั้นการที่เราจะศึกษาค่านิยมของสังคมใดสังคมหนึ่งนั้น
เราไม่ควรศึกษาหรือมองอย่างผิวเผินเรพาะเราอาจจเห็นเพียงเปลือกนอกของสังคมแต่ไม่เห็นแก่นแท้ของสังคมนั้น การที่เราจะรู้ค่านิยมอย่างแท้จริงเราจะต้องใช้สวิธีเข้าไป มีส่วนร่วมอยู่ในชุมนชนนั้นเป็นวเลานานพอสมควร เข้าไปสังเหกนตพฤติกรรม และสัมภาณ์แบบ เจาะลึก เราจึงจะเข้าใจค่านิยมหรือ วิถีชีวิตของบุคคลและสังคมนั้นอย่างแท้จริง

1.ค่านิยมในการวิเคราะห์นโยบาย



ดังได้กล่าวมาแล้วว่ากรอบแนวคิดในการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะนี้น นักวิชาการบางท่านเน้นแนวทางวิเคราะห์เชิงประจักษ์ คือ เน้นหลักเหตุผล การแสวงหาข้อมูลหรือข้อเป็นจริงที่พิสูจน์ได้
แต่นักวิชาการบางท่านมีความเห็น่า ในการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะนั้นถึงแม้จะอาศัยการวิเคราะห์เชิงประจักษ์ก็ตาม แต่การวิเคราะห์นโยบายจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถปลอดจาก ทฤษฏีปทัสสถานหรือปลอดจากค่านิยสมได้ เพราะนโยบายหลายนโยบายเป็นนโยบายที่เกี่ยวข้อกับคนส่วนใหญ่ในสังคม ความเสมอภาคในสังคม ความเป็นธรรมในสังคม
ผู้มีอำนสจหรือผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายจึงต้องคำนึงถึง สิ่งที่ควรจะเป็นหรือ สิ่งที่ขน่าจะเป็น หรืออะไรคือสิ่งที่ควรจะเป็น ก่อนที่จะตัดสินนโยบาย หรืออาจกล่าวได้ว่าการวิเคราะห์นโยบานสาธารณะนั้น ต้องเกี่ยวข้องกับค่านิยมไม่มากก็น้อย ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดต่อไป

3.การสังเกตค่านิยมของบุคคลและสังคม


การที่จะทราบว่าค่านิยมของบุคคลและค่านิยมของสังคมเป็นอย่างไรนั้น สามารถพิจารณาได้จากสิ่งต่อไปนี้

1.พิจารณาจากสิ่งที่บุคคลเลือกในชีวิตประจำวัน

โดยดูว่าเขาเลือกทำอะไร อขบซื้ออะไร ชอบสีอะไร อชบไปที่ไหน เลือกอาชีพอะไรร เลือกคุ่ครองแบบไหน เลือกที่อยู่อาศัยแบบใดเป็นต้น

2.พิจารณาจากทิศทางความสนใจของบุคคล

โดยดูจากความสนใจในชีวิต ความรู้ด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ ด้านการกีฤษ ด้านดนตรี ด้านการพักผ่อน เป็นต้น

3.พิจารณาจากการพูดหรือการสนทนาขอบบุคคล

คำพูดหรือการสนทนาเป็นเครื่องการถ่ายทอดวัฒนธรรมที่สำคัญของมนุษย์ ทำให้เกิดการสื่อสารที่เข้าใจกันได้ คพูดมักแสดงให้เห็นถึงแนวคิด ทัศนะของบุคคลน้นว่าเป็นเช่นไร เช่น บางคนขอบพูดเรื่องการเมือง อชบพูดเรื่องธรรมะ บางคนชอบลพูดเรื่องเศราษฐกิจ บางคนชอลพูดเรื่องสนุกสนาน หรือ เรื่องไร้สาระเป็นต้น

4.พิจารณาจากการคิดการเขียนของบุคคล

ซึ่งบุ คคลที่มีความคิด มีอุดมการณ์ มักจะออกมาในรูปของบทความ บทวิจารณ์ เอกสาร เรื่องสั้น นวนิยายเป็นต้น สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นค่านิยมของนักคิด นักเขียนเหล่านี้นเป็นอย่างดี เช่น หนังสือของ สซศิวรักษ์ สะท้อนแนวคิดการปฏิรูปสังคม ศาสตราจารย์ นพประเวศวะสีก็มักสะท้อนแนวคิด พัฒนาสังคมให้ยั่งนืนเป็นต้น