วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ระดับของค่านิยม



ค่านิยมโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
1.ค่านิยมระดับบุคคล

หมายถึงค่านิยมที่แต่บะบุคคลเลือกยึดถือปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่ง่าย ๆ หรือพงฤติกรรมที่ซับซ้อน เช่น ค่านิยมวัตถุ ค่านิยมความฟุ่มเฟือย ค่ายิยมอำนาจ ค่านิยมความกตัญญุ ค่านิยมความเสมอภาคเป็นต้น ซึ่งค่านิยมเหมือนเป็นเครื่องกำหนดทิศทางการตัดสินใจของบุคคล และมีผลต่อพฤติกรรม และบุคลิคภาพของบุคคบให้เป็นไปในลักษณะที่ตนนิยมชมชอบ
2.ค่านิยมระดับสังคม

หมายถึงค่านิยมที่บุคคลส่วนใหญ่ในสังคมนิยมชมชอบ และยุดถือปฏิบัติเช่นเดียวกัน โดยยึดถือว่าเป็นค่านิยมที่ดีและเหมาะสม ซึ่งบางครั้งอาจเป็นทั้งค่านิยมที่เหมาะสมและไม่หมาะสมก็ได้ ค่ายิยมของสังคมไทยในปัจจุบันเช่น ค่านิยมเงินทอง ค่านิยมความซื่อสัตย์ ค่านิยมวัตถึ ค่านิยมการศึกษาสูง ค่านิยมประชาธิปไตย ค่านิยมความเป็นไท ค่านิยมการทำบุญ ค่านิยมความเสมอภาคเป็นต้น
ดังนั้นการปลูกฝังค่านิยมแก่บุคคลในสังคมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะสามารถส่งผลกระทบกระเทือนถึงความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม ตลอดจนความมั่นคงของประเทศชาติได้
กล่าวคือสังคมใดมีค่านิยมทางสังคมที่เหมาะสมถูกต้อง เช่น ค่านิยมความซื่อสัตย์ ค่านิยมความเสียสละ ค่านิยมการมีส่วนร่วม ค่านิยมความขยันหมั่นเพียร ค่านิยมการประหยัด ค่านิยมการมีระบเยบวินัย ค่านิยมประชาธิปไตย สังคมนั้นย่อมพัฒนาอย่างรวดเร็ว โครงสนร้างของครอบครัวและ สังคมจะเข้มแข็ง ในทางตรงข้ามถ้าสังคมใดมีค่านิยมไม่เหมาะสมเช่น ค่านิยมความหรูหรา ฟุ่มเฟือย ค่านิยมวัตถุ ค่านิยมเสี่ยงโชค ค่านิยมความขอบสบาย ค่านิยมตัวใครตัวมัน สังคมนั้นย่อมเจริญก้าวหน้าช้า ไม่สามารถถึงตนไองได้ หรืออาจเสื่อมสลายลงได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้แก่ประชาชน ในสังคมตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม โดยเฉพาะนักการเมือง และนักบริหารระดับสูง เพราะบุคคลเหล่านี้จะต้องเป็นผู้ที่กำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น: